สวรส. – กรมสุขภาพจิต ร่วมวิจัยพัฒนาเครื่องมือ เพื่อ “ครู-หมอ-พ่อแม่” รับมือเด็กสมาธิสั้น พร้อมมอบคู่มือดูแลเด็กฯ เป็นของขวัญปีใหม่

754 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปัญหาสุขภาพจิต ถือเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคั ญของคนไทย โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันปัญหาสุ ขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่นที่ พบได้บ่อยและกำลังได้รั บความสนใจมากขึ้นในกลุ่มผู้ ปกครองและครู คือ โรคสมาธิสั้น หรือ Attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD) ทั้งนี้ ในปี 2555 พบความชุกของโรคสมาธิสั้นในเด็ กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 ถึงร้อยละ 8.1 หรือประมาณการได้ว่ามีเด็กนั กเรียนไทยที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้ นอยู่ถึง 1 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรเด็ กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 ทั่วประเทศ โดยพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ใน อัตราส่วน 3:1 ซึ่งมีความใกล้เคียงกับข้อมู ลจากรายงานการสำรวจสุขภาพเด็ กประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2552 พบว่าเด็กอายุ 3-17 ปี มีความชุกของโรคสมาธิสั้น อยู่ที่ร้อยละ 9 หรือประมาณ 5 ล้านคน  (ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพจิตเด็ กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต)

โรคสมาธิสั้น เป็นโรคที่เกิดจากความบกพร่ องของพัฒนาการ ส่งผลต่อการทำหน้าที่ ของสมองทำให้มีปัญหาทางพฤติ กรรมทางด้านสมาธิและการควบคุ มตนเอง และยังส่งผลต่อครอบครัวและมี ผลกระทบระดับประเทศจากการสูญเสี ยทรัพยากรบุคคลและงบประมาณการดู แลรักษาจำนวนมาก รวมทั้งในระบบบริการในระดั บปฐมภูมิยังมีช่องว่าง ทั้งในด้านบุคลากรสาธารณสุขที่ ยังขาดการฝึกอบรมทักษะในการบำบั ดรักษาที่ถูกต้องและมีประสิทธิ ภาพ ตลอดจนการติดตามผู้ป่วยร่วมกั นระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชนยังทำได้น้อย

 

นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจั ยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า ในปี 2559 สวรส. ได้ต่อยอดงานวิจัยเพื่อแก้ปั ญหาโรคสมาธิสั้นในเด็ก โดยสนับสนุนทุนวิจัยเรื่องการพั ฒนารูปแบบการดูแลเด็กสมาธิสั้ นแบบบูรณาการระหว่างบุ คลากรทางการแพทย์ ผู้ปกครอง และครู ในเขตภาคเหนือ (ปีที่ 1) แก่สถาบันพัฒนาการเด็กราชนคริ นทร์ กรมสุขภาพจิต เพื่อประเมินและพัฒนาศักยภาพบุ คลากรทางการแพทย์ของ รพ.ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิในสังกัดสาธารณสุ ขในเขตจังหวัดภาคเหนือ ในการคัดกรอง วินิจฉัย และส่งต่อเด็กโรคสมาธิสั้นเพื่ อการรักษาและดูแลอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการพัฒนาและทดสอบเครื่ องมือสำหรับดูแล ปรับพฤติกรรม และส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ เด็กสมาธิสั้นสำหรับผู้ปกครอง และครู รวมทั้งนำไปสู่การพัฒนาเป็นต้ นแบบเครือข่ายการดูแลเด็กสมาธิ สั้นร่วมกันระหว่างโรงพยาบาล โรงเรียน และบ้าน ซึ่งเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ งสำหรับประเทศไทย ที่ผลวิจัยสามารถพัฒนาเครื่องมื อและแนวทางการดูแลหรือการบริ การเด็กสมาธิสั้นที่นับว่าเป็ นแนวทางใหม่ของความร่วมมือร่ วมกันของพ่อแม่ผู้ปกครอง ครู และบุคลากรทางการแพทย์ ที่เรียกว่า “Integrated ADHD Care Model” 

นพ.สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยพั ฒนารูปแบบการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้ นแบบบูรณาการระหว่างบุ คลากรทางการแพทย์ ผู้ปกครอง และครูในเขตภาคเหนือ (ปีที่ 1) กล่าวว่า ทีมวิจัยมีการทำงานบนฐานความคิ ดที่ว่า “โรคสมาธิสั้นในเด็ก เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รั บการดูแลเป็นพิเศษ” จึงเกิดการพัฒนาแนวทางบริการเด็ กโรคสมาธิสั้นแบบบูรณาการระหว่ างผู้ปกครอง ครู และบุคลาการทางการแพทย์ ตั้งแต่กระบวนการคัดกรอง ส่งต่อ วินิจฉัย บำบัดรักษา และติดตามที่ชัดเจน เพื่อลดช่องว่างของปัญหาอย่ างเป็นระบบ ซึ่งกรมสุขภาพจิต เตรียมพร้อมขยายผลนำแนวทางดั งกล่าวมาใช้ในการดำเนินงานในปี 2561 ต่อไป

 

ทั้งนี้ แนวทางการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้ นดังกล่าว เริ่มได้จากที่บ้านโดยพ่อแม่ผู้ ปกครอง มีส่วนสำคัญในการสังเกตุความผิ ดปกติด้านอารมณ์ พฤติกรรมต่างๆ ควบคู่กับการใช้แบบประเมินคั ดกรองโรคสมาธิสั้นหรือพฤติกรรม (SNAP-IV) ต่อจากนั้น ครูจะร่วมสังเกตความผิดปกติด้ านอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆ ควบคู่กับการประเมินด้วยแบบคั ดกรองความบกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซึม (KUS-SI, SNAP-IV) และติดตามผล โดย รพ.สต. จะประเมินอาการ ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกั บโรค การปรับพฤติกรรมที่บ้ านและโรงเรียน การลดปัจจัยเสี่ยง ติดตามอาการ และส่งต่อเพื่อปรับพฤติ กรรมโดยนักจิตวิทยาควบคู่กั บแพทย์วินิจฉัยโรคสมาธิสั้น 

 

พญ.ชุตินาถ ศักรินทร์กุล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ คณะทำงานจัดทำคู่มือและหลักสู ตรในโครงการวิจัยฯ ดังกล่าว อธิบายเพิ่มเติมว่า กลุ่มอาการหลักของโรคสมาธิสั้ นแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.กลุ่มอาการขาดสมาธิ เช่น เหม่อลอย ขี้ลืม ไม่มีสมาธิในขณะทำงานหรือเล่น วอกแวกง่ายจากสิ่งเร้าต่างๆ เป็นต้น และ 2.กลุ่มอาการอยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น เช่น มักยุกยิกอยู่ไม่สุข ปีนป่าย พูดมาก พูดแทรก อดทนรอคอยไม่ได้ เป็นต้น ในบางรายมีทั้งสองกลุ่ มอาการผสมกัน หากไม่ได้รับการวินิจฉัยรักษา และปรับพฤติกรรมอย่างถูกต้ องและเหมาะสม โดยเร็ว จะส่งผลกระทบทางลบในเวลาต่อมาคื อ ผลกระทบต่อตัวเด็ก ทำให้มีปัญหาด้านการเรียน สัมพันธภาพทางสังคม รวมไปถึงการปรับตัวเข้ากับผู้อื่ น และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอุ บัติเหตุได้ง่าย อาจส่งผลในระยะยาวต่อพั ฒนาการในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ได้ เช่น มีบุคลิกภาพต่อต้านสังคม ติดยาเสพติด เกิดภาวะซึมเศร้า เป็นต้น

 

ในด้านผลกระทบต่อครอบครัว ทำให้เกิดภาวะความเครี ยดในครอบครัวสูงขึ้น บุคคลในครอบครัวเสียโอกาสในอาชี พการงานเนื่องจากใช้เวลาไปกั บการดูแลเด็ก ขาดความสงบสุขอาจนำไปสู่ปั ญหาหย่าร้างได้มากขึ้น

 

โรคสมาธิสั้นในเด็กเป็นโรคที่รั กษาให้หายได้ โดยเด็กสามารถที่จะเรียนหนังสื อหรือทำงานได้ โดยไม่ต้องรับประทานยา มีโอกาสประสบความสำเร็จและดำเนิ นชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องมี ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ถูกต้ องก่อน ตลอดจนการร่วมปรับพฤติ กรรมตามแนวทางที่ถูกต้ องเหมาะสมต่อไป 
ภายใต้โครงการวิจัยฯ มีเครื่องมือสำหรับการดูแลเด็ กสมาธิสั้นที่ผ่านการทดสอบประสิ ทธิผลแล้ว โดยเด็กสมาธิสั้นของผู้ปกครองที่ ใช้เครื่องมือหรือผ่านหลักสูตร มีผลการเรียนและปรับตัวเข้ากั บสังคมได้ดีขึ้น ทั้งนี้ นพ.พีรพล กล่าวทิ้งท้ายว่า ในช่วงปีใหม่ 2561 สวรส. และกรมสุขภาพจิต ได้ร่วมมอบของขวัญปีใหม่ 2561 โดยนำความรู้ที่ได้จากโครงการวิ จัยฯ มาเผยแพร่แก่ประชาชนเพื่ อนำไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นคู่มือการคั ดกรองและปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิ สั้นสำหรับผู้ปกครอง หรือคู่มือสำหรับครูในการดู แลและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ ก โดยสามารถค้นหาและดาวน์โหลดข้ อมูลได้ทางเว็ปไซต์ของ สวรส. www.hsri.or.th และเว็ปไซต์ www.adhdthailand.com พร้อมมีบริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323

 

นอกจากนั้น ในโครงการวิจัยฯ ยังมีสื่อและหลักสูตรสำหรับครู และบุคลากรทางการแพทย์เพื่อใช้ เป็นแนวทางมาตรฐานการดูแลเด็ กในโรงเรียนและโรงพยาบาล ทั้งหมดนี้ เพื่อให้คนไทยเกิดการเรียนรู้ และเข้าใจต่อโรคสมาธิสั้นในเด็ก สามารถรับมือได้อย่างถูกต้ องและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกหลานและครอบครัวกลั บมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและมี ความสุข ตั้งแต่ปี 2561 นี้เป็นต้นไป

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้