รพ.เทพา ยึดมาตรฐาน HA - DHSA การทำงานจนท.ร่วมชุมชนภายใต้สถานกาณ์ COVID -19 ผลสำเร็จจากทุกภาคส่วน

735 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) กล่าวว่า สถาบันรับรองคุณภาพและสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. มีบทบาทส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและให้การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ตามมาตรฐาน HA (Healthcare Accreditation) โดยมีรูปแบบการประเมินรับรองที่หลากหลาย อาทิ การรับรองขั้นก้าวหน้า, การรับรองเฉพาะโรค , การรับรองเครือข่ายบริการสุขภาพระดับจังหวัด และการรับรองเครือข่ายระบบสุขภาพระดับอำเภอ

โดยสรพ. ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงพยาบาลคุณภาพมาตรฐาน HA ที่ผ่านการรับรองเครือข่ายระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ (DHSA) ในพื้นที่โรงพยาบาลเทพา จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนโดยเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของภาคส่วนต่าง ๆ ในชุมชน อาทิ โรงพยาบาล หน่วยงานราชการ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น ประชาชนในชุมชน ที่มาร่วมกันแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาด โคโรน่าไวรัส (COVID -19) ทั้งนี้โรงพยาบาลเทพาผ่านการรับรองกระบวนการคุณภาพมาตรฐาน HA และได้ทำการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการสุขภาพในระดับอำเภอ DHSA ด้วย โดยได้รับการรับรอง เมื่อ วันที่ 25 มิถุนายน 2562 โดยมีอายุการรับรอง 3 ปี



ด้านนายแพทย์เดชา แซ่หลี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเทพา กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส (COVID-19) โรงพยาบาลเทพาได้นำแนวคิดของ การทำงานร่วมกับชุมชน เครือข่ายบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นแนวทางตามมาตรฐาน HA และ DHSA ไปปรับระบบบริการของโรงพยาบาลโดยใช้โครงสร้าง EOC ที่สามารถเคลื่อนงานคุณภาพและงานระดับอำเภอได้ เช่นการจัดตั้ง Local Quarantine เป้าหมายที่ดำเนินการมุ่งที่ความปลอดภัยของผู้ให้บริการ ผู้รับบริการและชุมชน ทั้งนี้โรงพยาบาลมีการถอดบทเรียนการทำงานในสถานการณ์ COVID-19

ที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยความสำเร็จ คือ ความร่วมมือจากหน่วยงานในทุกภาคส่วน การสื่อสารในทุกระดับเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การสื่อสารในระดับทีมนำระดับอำเภอ ระดับโรงพยาบาลใช้แนวคิดและโครงสร้างของ EOC การสื่อสารที่ชัดเจนในกลุ่มเจ้าหน้าที่ เช่น การปฏิบัติตน การสวม PPE สื่อสารแนวทางปฏิบัติสู่หน่วยงานต่างๆ การทำหัตถการเสี่ยงเช่น Swab การดูแลใน ER OPD Clinic PUI ARI ที่มี Dynamic มากเนื่องจากมีแนวทางที่ปรับเป็นระยะ ซึ่งโรงพยาบาลได้มีการถอดบทเรียนและประชุมสม่ำเสมอทุกเช้า เพื่อให้ทุกกลุ่มงานมาหารือร่วมกัน

ส่วนการประชุมในระดับอำเภอใช้เวที EOC มีการประชุมทุกสัปดาห์ คล้ายโครงสร้าง พชอ. DHSA หารือแนวทางการสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจ มีการสื่อสารหลายวิธี เช่น คลิปวิดีโอ narrative medicine สื่อสารโดยภาพและเสียง เช่นการดูแลใน Home Quarantine หรือ local Quarantine ซึ่งที่เทพา ใช้รีสอร์ตในการกักตัว จะสื่อสารให้ทุกคนได้เห็นภาพชายทะเล และบ้านที่สวยงาม ทำให้ ลดความกลัวและเป็นการสื่อสารที่เข้าใจมากขึ้น นอกจากนี้ก็คือการติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิดทำให้การแก้ปัญหา วิกฤติแต่ละระยะของพื้นที่อำเภอเทพาผ่านไปได้ด้วยดี

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้