“ศาลาไผ่ดอกโบตั๋น” แลนด์มาร์คใหม่ ม.รังสิต เพื่อเรียนรู้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น

1888 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นับตั้งแต่งสถาบันได้เริ่มดำเนินงานวิจัยและพัฒนางพืชท้องถิ่นอย่างไผ่ และบูรณาการองค์ความรู้สู่การเรียนการสอนทางด้านสถาปัตยกรรม ทำให้ได้เห็นผลงานในรูปแบบต่างๆ มากมาย อาทิ Showcase – Bamboo Decoration ผลงานที่ทำมาจากไม้ไผ่ที่นำเสนอตัวอย่างงานไผ่ให้เห็นภาพอย่างชัดเจนในการจัดแสดงงานไผ่ หรือการตกแต่งนิทรรศการจากไม้ไผ่ รวมถึงการลงพื้นที่ช่วยสร้างอาคารห้องดนตรีแก่โรงเรียนบ้านปงสนุก จังหวัดน่าน ที่ประสบเหตุไฟไหม้ห้องดนตรี เป็นต้น และล่าสุดสถาบันไผ่กู้ชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ก่อสร้างศาลาไผ่เพื่อการเรียนรู้ เป็นแลนด์มาร์คใหม่ให้แก่นักศึกษาและคนที่สนใจทั่วไปได้เข้ามาศึกษาและเยี่ยมชมความงามของสถาปัตยกรรมไม้ไผ่

อาจารย์ปุณณรัตน์ จรุงคนธ์ รองผู้อำนวยการสถาบันไผ่กู้ชาติ และอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า “การสร้างศาลาไม้ไผ่นี้ เริ่มต้นมาจากการการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ SOS+ Studio ชั้นปีที่ 1-5 ซึ่งมีการเรียนรู้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยเฉพาะเรื่องของ ไผ่ อยู่แล้ว ทำให้มีการต่อยอดจากกลุ่มนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สู่การสร้างโมเดลผลงาน Petails Pavilion : BAMBOO BAYA เข้าร่วมประกวดในเวที International Student Competition in Architectural Design and Construction of Bamboo 2020 : Waterfront Bird-Watching Pavilion ประเทศจีน ออกแบบโดยนางสาวเทวิกา วังแสง นางสาววระดา บุญเติม นางสาวปัทมา วิลาวรรณ และนายศุภวิชญ์ มุทาพร นักศึกษาชั้นปีที่ 5 จากคณะสถาปัตยกรรม และได้รับรางวัลที่ 1 ซึ่งแบบดังกล่าวได้มีการก่อสร้างจริง ณ Nansha Bird Park เมืองกวางโจว ประเทศจีน และด้วยสถาบันไผ่กู้ชาติ ได้เห็นความสำคัญของผลงานนักศึกษา จึงมีแนวความคิดมาสู่การพัฒนาพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยรังสิต โดยได้นำโมเดลที่ชนะการประกวดมาก่อสร้างจริงบริเวณภายในมหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการ “โครงการก่อสร้างศาลาไม้ไผ่เพื่อการเรียนรู้” โดยได้ร่วมมือกับศิลปิน และสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญด้านไผ่ บริษัท ธ ไก่ชน จำกัด ในการพัฒนาแบบและลงมือก่อสร้างร่วมกับนักศึกษา เพื่อให้เป็นแลนด์มาร์คใหม่ที่นอกจากความสวยงามแล้ว ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และผู้ที่สนใจได้เข้าชมได้อีกด้วย”

ด้านคุณธนพัฒน์ บุญสนาน ศิลปิน และสถาปนิกไม้ไผ่ บริษัท ธ ไก่ชน จำกัด ที่ปรึกษาในการก่อสร้างศาลาไม้ไผ่ กล่าวว่า “ในฐานะที่ได้รับเชิญมาร่วมโครงการก่อสร้างศาลาไม้ไผ่เพื่อการเรียนรู้ เริ่มตั้งแต่ทำการก่อสร้างส่วนของพื้นยกระดับของศาลาไม้ไผ่กลางน้ำ โดยมีนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมสังเกตการณ์การก่อสร้าง พร้อมลงมือฝึกหัดร่วม ระหว่างการก่อสร้างหลังจากได้รับโจทย์มา ได้มีการแลกเปลี่ยนแนวคิด พัฒนาแบบร่วมกัน รวมถึงดูเรื่องกรรมวิธีในการออกแบบ และก่อสร้างศาลา สำหรับศาลาไผ่ได้มีการปรับให้เขากับบริบทพื้นที่บริเวณของมหาวิทยาลัย เป็นรูปทรงของดอกไม้โบตั๋น หรือดอกพีโอนี (Peony) คือดอกไม้ที่มีความสำคัญและเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของประเทศจีน มีการปรับจากให้มีความอ่อนช้อย สนุกสนานขึ้น การเลือกวัสดุ การสานกลีบของดอกให้ดูมีความสวยงามมากขึ้น มีการนำโครงเหลือเขามาช่วยเพื่อให้เกิดความแข็งแรง ทนทานมากขึ้น ซึ่งจากการก่อสร้างบนพื้นที่จริงเป็นที่เรียบร้อย ด้วยขนาดของพื้นที่ และตำแหน่งของการสร้างศาลา มีความเหมาะสม โดยระยะเวลาการดำเนินงานก่อสร้างประมาณ 3 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามการได้เห็นงานสถาปัตยกรรมไผ่ เข้ามาบูรณาการในการเรียนการสอนและได้มีการลงมือปฏิบัติ ลงมือทำจริง ลงมือก่อสร้างให้ได้เห็นเชิงประจักษ์ เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่ดีในการสร้างคุณค่าของพืชท้องถิ่นในแง่สถาปัตยกรรมของคนไทยส่งต่อคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี”

เอาหล่ะ! ปักหมุดเป็นศาลาไม้ไผ่ 'ดอกโบตั๋น' แห่งใหม่ ที่มหาวิทยาลัยรังสิต อีกหนึ่งแลนด์มาร์คเพื่อการเรียนรู้ และชมสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ BAMBOO BAYA ผลงานการออกแบบที่ก่อสร้างจริง ณ ประเทศจีน และประเทศไทย ใครๆ ก็มาเข้ามาชมได้


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้