1899 จำนวนผู้เข้าชม |
เป็นครั้งแรกที่ได้ลองขับรถบรรทุก ขับทดสอบแต่รถยนต์ รถกระบะ รถจักรยานยนต์ มาครั้งนี้ได้มาลองรถบรรทุกขนาดกลางหรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ รถ 6 ล้อนั่นเอง ภายใต้แบรนด์ TATA รถสัญชาติอินเดียที่ดำเนินธุรกิจในเมืองไทยมาแล้วเกือบจะสิบปี โดยทำการเปิดตัวรถกระบะขนาด 1 ตันในชื่อรุ่น Tata Xenon เน้นความคุ้มค่าของการใช้งานกับราคาเบา ๆ ต่อมาด้วย Tata Super Ace Mint รถบรรทุกขนาดเล็กเน้นความคล่องตัวในการขนส่งในเมืองที่มีการจราจรหนาแน่นกับขุมพลังเครื่องยนต์ดีเซลหนึ่งเดียวในตลาดของรถบรรทุกขนาดเล็กและในอนาคตอันใกล้ทางทาทา มอเตอร์ ประเทศไทย จะมีการนำเข้ารถบรรทุกขนาดใหญ่ Tata Daewoo และ Tata Prima รถบรรทุกหัวลากที่จะมาเติมเต็มรถเพื่อการพาณิชย์ให้ครบวงจรเพื่อรองรับความต้องการของการขนส่งทุกประเภทที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นความชัดเจนในการทำธุรกิจรถบรรทุกของทาทา มอเตอร์ ประเทศไทย ในส่วนของพระเอกในงานนี้คงจะเป็นรุ่นอื่นไปไม่ได้นอกจาก Tata Ultra ที่ได้ทำการเปิดตัวในงานนี้ พร้อมกับให้ลองสมรรถนะของรถ ณ สนามทดสอบปทุมธานี สปีดเวย์ ส่วนรายละเอียดของ Tata Ultra จะมีอะไรเหนือกว่าคู่แข่งกันบ้างเดี๋ยวเราจะบอกให้รู้กัน
ทาทา อัลทรา ใช้เครื่องยนต์ดีเซล คอมมอนเรลแบบ 4 สูบ ขนาด 3.0 ลิตร ปริมาตรกระบอกสูบ 2,956 ซีซี. พร้อมระบบอัดอากาศเทอร์โบอินเตอร์คูลเลอร์ ส่งกำลังด้วยระบบเกียร์ธรรมดา 6 สปีด ให้กำลังสูงสุด 140 แรงม้าที่ 2,600 รอบ/นาที และแรงบิดสูงสุด 390 นิวตันเมตร ที่รอบต่ำ 1,400-2,000 รอบ/นาที โดยให้กำลังเทียบเท่ากับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่แต่ได้ความประหยัดเชื้อเพลิงซึ่งเป็นความต้องการของรถบรรทุกเพื่อลดต้นทุนในด้านการจ่ายค่าน้ำมันในแต่ละครั้ง ชุดเกียร์ธรรมดา 6 สปีด ทำงานด้วยสายเคเบิ้ลที่ดูแลรักษาง่ายมีอายุการใช้งานที่ทนทานและให้จังหวะเปลี่ยนเกียร์ที่นุ่มนวล
การออกแบบภายนอกมีดีไซน์ที่โดดเด่น จากไฟหน้าแบบมัลติรีเฟลกเตอร์และไฟท้ายแบบ LED หัวเก่งออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ลดแรงต้านอากาศและเสียงรบกวน หัวเก่งยังสามารถยกได้แบบ 45 องศาด้วยระบบไฮดรอลิคเพื่อความสะดวกปลอดภัยในการดูแลรักษา
มาที่ห้องโดยสารที่มีขนาดใหญ่ แบบ Walkthrough มีความกว้างขวางสะดวกสบายในการขับขี่และผู้โดยสารในการเข้า-ออก เบาะด้านผู้ขับจะเป็นแบบ Suspended Driver Seat ที่มีระบบกันสะเทือนปรับระดับแข็ง-อ่อนได้ (เป็นแบบถุงลม) ช่วยลดอาการอ่อนล้าเมื่อขับเป็นระยะทางไกล ๆ แผงหน้าปัดมีการแสดงข้อมูลต่าง ๆ อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ไฟแสดงสภาวะการใช้งานต่าง ๆ เป็นข้อมูลในการดูแลรักษารถ ยังมีช่องเก็บสัมภาระต่าง ๆ อยู่หลายจุด ที่พักแขนและที่วางแก้วอย่างครบครันมีไม่แพ้รถกระบะในปัจจุบัน
แชสซีส์ของ Tata Ultra ได้รับการออกแบบมาแบบคุณภาพสูง มีความแข็งแกร่งในการใช้งานและเหมาะสมสำหรับการติดตั้งตู้บรรทุกหรือการใช้งานประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีขนาดของฐานล้อ (Wheelbase) ที่หลากหลายให้เลือกใช้งาน ส่วนระบบช่วงล่างด้านหน้าเป็นแบบแหนบแผ่นโค้งและด้านหลังเป็นแบบโค้งกึ่งวงรีพร้อมแหนบแผ่นโค้งเสริม พร้อมช็อคอัพเพิ่มความนุ่มนวลในการขับขี่และประสิทธิภาพในการบรรทุก ระบบเบรกเป็นแบบดรัมเบรก หน้า/หลังขนาด 325 มม. เบรกลมล้วนวงจรคู่ (S-Cam Brake) และติดตั้งระบบ ABS เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งมากับตัวรถหนึ่งเดียวในรถบรรทุก 6 ล้อที่ให้ระบบนี้ให้ความปลอดภัยสูงสุด เบาแรงกับพวงมาลัยเพาเวอร์แบบลูกปืนหมุนวนปรับระดับได้ 4 ทิศทางน้ำหนักรวมของตัวรถ 3,285 กก. สามารถรับน้ำหนักตัวรถพร้อมของที่บรรทุกสูงสุด 10,400 กก. (ไม่ผิดกฏหมาย) นั้นคือข้อมูลของ Tata Ultra
ในส่วนของการทดสอบได้ใช้สนามทดสอบปทุมธานีสปีดเวย์โดยแบ่งการทดสอบออกเป็น 5 สถานี ได้แก่ สถานีทดสอบอัตราเร่ง สถานีทดสอบเบรก/ABS สถานีทดสอบวงเลี้ยว สถานีทดสอบการเปลี่ยนเลนแบบกะทันหัน และสถานีสุดท้ายการทดสอบการยึดเกาะถนน (สลาลม) ก่อนทำการทดสอบได้มีพีธีเปิดตัว Tata Ultra อย่างเป็นทางการจากนายใหญ่รางโต นาย ซานเจย์ มิชรา กรรมการผู้จัดการ ทาทา มอเตอร์ประเทศไทย จบจากการเปิดตัวเป็นการทดสอบกับรถ Tata Ultra กับจำนวนรถ 3 คัน แบ่งออกเป็น รถเปล่า รถที่ใส่คอกมาและรถที่มีการบรรทุกน้ำแบบตู้ทึบที่บรรทุกน้ำเปล่ากับน้ำหนักประมาน 7 ตันให้ได้ขับทดสอบเปรียบเทียบกัน ในส่วนตัวของผมเองก็เพิ่งได้เคยขับรถบรรทุกขนาดกลางเป็นครั้งแรกทำให้ตื่นเต้นเล็กน้อยแต่พอได้ขึ้นไปทดลองขับ สิ่งที่หน้าตกใจคือ เป็นรถที่ขับง่ายด้วยพวงมาลัยเพาเวอร์ทำให้ควบคุมรถง่าย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ระยะวงเลี้ยวนั่นเองเพราะขนาดของตัวรถที่ใหญ่และยาวดังนั้นต้องเผื่อวงเวลาที่เลี้ยวแต่ด้วยสนามทดสอบที่เป็นแบบปิดก็เลยไม่ต้องกังวนรถรอบข้างสักเท่าไรเลยทำให้เราขับขี่ด้วยความไม่ต้องเกรงกับสถานีแรกทดสอบอัตราเร่งวิ่งตรง ๆ ยาว ๆ
จับพวงมาลัยตรง ๆ แล้วกดคันเร่งให้มิดคันแรกที่ผมขับจะเป็นแบบรถคอกไม่ได้บรรทุกความเร้วที่ทำได้ก่อนถึงจุดเบรกและทดสอบ ABS ทำความเร็วได้ประมาน 60 กม./ชม. สุดที่เกียร์ 4 แต่เกียร์มีทั้งหมด 6 เกียร์ด้วยข้อจำกัดของสนามทดสอบก็เลยใช้ได้แค่ 4 เกียร์ ด้วยสมรรถนะของรถบรรทุกขนาดกลางที่เน้นการใช้บรรทุกกับความเร็วขนาดนี้ก็ถือว่าทำได้ดีไม่ได้เน้นความเร็วแรงเหมือนรถซิ่งต้องเข้าใจในตัวรถกันด้วยในการทดสอบอัตราเร่งผมมองเห็นเวลาที่เปลี่ยนเกียร์จากการออกตัวเข้าเกียร์ 1 ลากมาเกียร์ 2 จะต้องทำการเปลี่ยนเกียร์ที่ 2,500 รอบในการลากเปลี่ยนเกียร์ทุกเกียร์ถือว่าได้ความประหยัดเพราะรอบยิ่งสูงยิ่งกินน้ำมัน ดังนั้น การเปลี่ยนเกียร์ทุกครั้งที่ 2,500 รอบนั้นหมายถึงความประหยัดน้ำมัน และช่วยถนอมชิ้นส่วนเช่น คลัทช์
ผ่านสถานีแรกต่อเนื่องกับสถานีที่ 2 กับการทดสอบเบรกและระบบ ABS เจ้าหน้าที่ประจำรถบอกให้ผมกะทืบเบรกแบบเต็มที่เพื่อให้เห็นถึงการทำงานของเบรกที่เป็นแบบหม้อลมให้การหยุดรถแบบมั่นใจได้ 100% เสริมความปลอดภัยด้วยระบบ ABS ที่ทำงานประสานกันในขนาดที่คู่แข่งไม่มีระยะเบรกที่ผมได้วิ่งมาแล้วเบรกที่ 60 กม. ระยะเบรกสั้นพอตัว จากนั้นก็ไปต่อที่สถานีที่ 3 ทดสอบวงเลี้ยวกับวงเลี้ยวแคบสุด 7.6 เมตร ทำให้ควบคุมรถไปในทิศทางที่กำหนดได้อย่างสะดวกสบายแม้จะเป็นการขับขี่ในแบบเส้นทางตัว S สถานีที่ 4 เป็นการทดสอบเปลี่ยนเลนถนนแบบกะทันหันดูการทรงตัวของรถ ในการจำลองเหตุว่ามีวัตถุตกหล่นบนถนนแล้วต้องหักหลบทันที่กับความเร็วที่ใช้ประมาน 35 กม. รถยังคงทรงตัวได้ดีไม่มีอาการเหวี่ยงหรือท้ายปัดแต่อย่างใดให้ความมั่นใจในการยึดเกาะถนน
สถานีสุดท้ายเป็นการทดสอบแบบสลาลมใช้ความเร็วในการทดสอบสถานีนี้ 25 กม. พวงมาลัยควบคุมได้อย่างแม่นยำตามที่ผมได้บังคับให้เลี้ยวซ้าย-ขวาอาการรถก็ไม่เสียอาการอะไรนิ่งมีแค่คนนั่งข้าง ๆ ที่มีอาการเหวี่ยงเล็กน้อยแต่ผมเชื่อว่าในการใช้งานจริง ๆ คงไม่มีใครมาขับแบบนี้แน่นอนอันนี้เป็นการทดสอบเพื่อจะให้เห็นว่าขนาดผมขับแบบเหวี่ยง ๆ แล้วรถมันยังไม่เสียอาการอะไรเลยกับทำให้มั่นใจว่า Tata Ultra เป็นรถบรรทุกขนาดกลางที่มาครบทั้งความประหยัด การยึดเกาะถนน ระบบเบรกที่่มั้นใจได้และยังมี ABS มาด้วยให้ความปลอดภัยสูงสุด
แต่การทดสอบยังไม่ได้จบแต่เพียงเท่านี้ผมได้ไปลองอีกคันที่มีการใส่น้ำหนักเข้าไปโดยเป็นรถที่ใส่ตู้ทึบพร้อมบรรทุกน้ำหนักลงไป 7 ตัน ทำการทดสอบเหมือนกัน เมื่อมีน้ำหนักเพิ่มมาก็ทำให้อัตราเร่งอาจจะไม่ปรี๊ดปร๊าดเมื่อเทียบกับรถตัวเปล่าแต่ความเร็วที่ทำได้ก็จะอยู่ประมาน 50 กม. และระยะเบรกจะสั้นกว่าเพราะมีน้ำหนักบรรทุกแต่ระบบ ABS ไม่ได้ทันทำงานเนื่องจากรถหยุดสนิทเสียก่อนต่อมากันที่สถานีทดสอบวงเลี้ยวก็ควบคุมได้ง่ายไม่ได้แตกต่างจากรถตัวเปล่าแต่ด้วยมีน้ำหนักทำให้มีความรู้สึกว่ารถเกาะถนนมากกว่าตัวเราเปล่าต่อมาที่สถานีเปลี่ยนเลนกะทันหันความเร็วที่ใช้เข้าสถานีประมาน 20 กม. เพราะมีน้ำหนักบรรทุกรถก็ไม่มีอาการเหวี่ยงเสียอาการแต่อย่างไร ดูจากภายนอกอาจจะดูว่ารถเหวี่ยงแต่ในห้องโดยสารนิ่ง ๆ เลยจบท้ายกับสถานีสุดท้าย สลาลมหลายคนอาจจะคิดว่าต้องเหวี่ยงเยอะแน่ ๆ เลยรวมกับผมเองก็คิดแบบนั้นแต่ผลที่ออกมานิ่งช่วงล่างยึดเกาะได้ดีกับความเร็วที่ใช้ 25 กม.
เมื่อนำมาเปรียบเทียบจะแตกต่างกันที่อัตราเร่งรถเปล่าอาจจะวิ่งได้เร็วกว่าแต่การยึดเกาะถนนรถที่มีน้ำหนักจะทำได้ดีกว่าแต่จะบอกว่ารถเปล่าไม่เกาะก็คงจะไม่ใช่เป็นความรู้สึกที่ได้ลองแล้วกับรถบรรทุกขนาดกลาง (6 ล้อ) กับความเร็วขนาดนี้ผมถือว่า Tata Ultra สอบผ่านเพราะที่จริงแล้วรถบรรทุกขนาดกลางคงจะไม่ได้เน้นที่ความเร็วแต่เน้นที่ความประหยัด ขนของได้เยอะ ความทนทานและความปลอดภัยซึ่ง Tata Ultra มีมาให้ครบ ๆ เลย
สุดท้ายก่อนที่จะจากกันไปหลายท่านอาจจะอยากทราบราคาค่าตัวของ Tata Ultra ว่าราคาเท่าไร?? ถึงล้านไหม?? บอกเลยละกันราคาของ Tata Ultra ราคาปกติอยู่ที่ 965,000 บาท แต่ในช่วงเปิดตัวนี้มีราคาพิเศษอยู่เพียง 899,900 บาท (ถึงแค่สิ้นปี 2560 นี้นะครับ) เลขราคาสวย ๆ ท่านที่กำลังมองหารถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์นำไปต่อยอดธุรกิจ ขอฝาก Tata Ultra ไว้พิจารณากับราคาที่คุ้มค่ากับออฟชั่นรถที่จัดเต็มและความมั่นใจของโชว์รูมและศูนย์บริการ 50 แห่งทั่วประเทศไม่ควรมองข้าม Tata Ultra ฝากกดไลน์ กดแชร์ ให้กับทีมงานด้วยนะครับเพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างผลงานดี ๆ กันต่อไป
เรื่อง...สีนิล